สิทธิศักดิ์ คูหาวิไล และ นิกร จันทร์ต๊ะตา คือผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มทองถนิม โดยทองถนิมก่อตั้งจากปณิธานสามประการคือเพื่อสืบสานงานเครื่องทองโบราณให้ไม่สูญหาย
เพื่อเผยแพร่ฝีมือของช่างศิลป์ไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และเพื่อส่งเสริมบุคลากรที่มีทักษะและฝีมือในสาขาช่างวิชานี้ให้ได้มีอาชีพรองรับ
สิทธิศักดิ์ คูหาวิไล และ นิกร จันทร์ต๊ะตา คือผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มทองถนิม โดยทองถนิมก่อตั้งจากปณิธานสามประการคือเพื่อสืบสานงานเครื่องทองโบราณให้ไม่สูญหาย เพื่อเผยแพร่ฝีมือของช่างศิลป์ไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และเพื่อส่งเสริมบุคลากรที่มีทักษะและฝีมือในสาขาช่างวิชานี้ให้ได้มีอาชีพรองรับ
การก่อตั้งทองถนิม
งานประณีตศิลป์สาขาช่างบุดุน หรือ “ช่างทองหลวง” เป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่ามาก ในปัจจุบันศิลปะแขนงนี้กำลังสูญหาย
น้อยคนนักที่รู้จักและเห็นคุณค่า เพื่อเป็นการรักษาศิลปะไทยในแขนงนี้ให้ยังคงอยู่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีคนสืบสานและส่งเสริม
จุดเริ่มต้นของวิธีคิดชื่อมาจากการที่เราทำงานเกี่ยวกับเครื่องทองไทยโบราณจึงอยากได้ชื่อที่เป็นการเผยแพร่เอกลักษณ์ความเป็นไทยจึงได้เลือกคำไทยมาหนึ่งคำคือคำว่า “ถนิมพิมพาภรณ์” เป็นคำไทยโบราณแปลว่าเครื่องประดับร่างกายหรือเครื่องตกแต่งร่างกายซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกับงานที่สร้างสรรค์ ดังนั้นจึงเอาคำว่า “ถนิม” จาก “ถนิมพิมพาภรณ์” และนำมารวมกับคำว่า ทอง จึงเป็นชื่อ “ทองถนิม” แปลว่า เครื่องประดับร่างกายที่ทำจากทอง ซึ่งเป็นชื่อที่ความหมายลงตัวกันและยังตรงกับวัตถุประสงค์ในการถ่ายทอดคำว่า “ถนิมพิมพาภรณ์” ให้คนทั่วไปได้รู้จักเพราะเมื่อใช้ชื่อ “ทองถนิม” ก็จะมีคนเข้ามาสอบถามว่า ถนิมแปลว่าอะไร มาจากไหน เป็นต้น นอกจากนั้นคำว่า “ทองถนิม” ยังเกิดจากการเล่นคำการแบบสมัยใหม่ผสมกลิ่นอายคำโบราณอีกด้วย
ทองถนิม คือ
“ผู้สืบทอดและส่งต่อศิลปะการทำเครื่องทองไทย อันเปี่ยมล้นไปด้วยเรื่องราวแห่งจิตวิญญาณ และจะเป็นมรดกของชาติไทยสืบไป”
“ทองถนิม”สร้างสรรค์เครื่องทองไทยที่เป็นศิลปะไทยโบราณ โดยการสืบสานและส่งต่อผลงานศิลปะเครื่องทองไทยผ่านเรื่องราวจิตวิญญาณ ซึ่งผลงานที่ผ่านการสร้างสรรค์ก็จะกลายเป็นมรดกของชาติสืบไป
- คำว่า “สืบสาน” คือการสืบสานเทคนิคและภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษได้สร้างเอาไว้
- คำว่า “ส่งต่อ” คือการส่งต่อองค์ความรู้ที่ได้สืบสานมาให้กับคนที่สนใจ
ในส่วนแรกสำหรับงานช่างจะได้รับการส่งต่อเทคนิค วิธีการ ขั้นตอนกระบวนการทำศิลปะเครื่องทองไทย ในส่วนที่สองสำหรับผู้ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมอนุรักษ์งานศิลปะเครื่องทองไทยก็จะกลายเป็นผู้ครอบครองผลงาน ซึ่งเป็นการส่งต่อผลงานและผลงานที่ได้ครอบครองนั้นทรงคุณค่าเพราะทองคำสามารถเก็บรักษาไว้ยาวนานและสามารถกลายเป็นมรดกส่งต่อแด่อนุชนรุ่นหลัง ดังเช่นที่เห็นงานเครื่องทองโบราณในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างขึ้นและส่งต่อมาให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา
งานศิลปะเครื่องทองไทยเป็นงานที่มีเรื่องราว มีความหมาย และมีจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สร้างต้องการสื่อสารผ่านผลงานออกมา ภายในผลงานที่ถูกสร้างสรรค์จะมีจิตวิญญาณของทั้งผู้สร้างและจิตวิญญาณของผู้ครอบครอง โดยผู้ครอบครองได้สั่งทำผลงานที่มีเรื่องราวของผู้ครอบครอง อาทิ เรื่องราวเกี่ยวกับปีนักษัตร ความชอบส่วนตัว ความเชื่อส่วนบุคคล หรืออยากให้มีเอกลักษณ์บางอย่างที่อยากสร้างเป็นสมบัติประจำตัว เป็นต้น โดยตรงส่วนของเรื่องราวนี้คือส่วนของจิตวิญญาณของผู้ครอบครองที่ใส่ลงไปในผลงานนอกเหนือไปจากสิ่งที่ช่างจะใส่เข้าไป
รูปภาพและเนื้อหาทั้งหมดเป็นลิขสิทธิ์ของ ร้านทองถนิม ตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ | เว็บไซต์นี้พัฒนาโดย บริษัท ไนซีทิ ไนน์ จำกัด